{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมบัญชีกลางร่วมกับสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย กำหนดเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านยา เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โดยผู้มีสิทธิไม่ต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน เริ่ม 12 พฤศจิกายน 2564
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางออกหลักเกณฑ์
การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease: IBD) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยได้จัดทำระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease: IBD) ทั้งนี้ หากแพทย์ผู้ทำการรักษามีแผนการใช้ยา Adalimumab,Infliximab และ Vedolizumab ให้สถานพยาบาลดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษาและผู้ป่วย พร้อมทั้งส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ IBD หากได้รับอนุมัติการใช้ยา จึงจะสามารถเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าวในระบบเบิกจ่ายตรงเท่านั้น สำหรับยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดในระบบ IBD เช่น ยา Ustekinumab และ Golimumab เป็นต้น จะไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ อย่างไรก็ตามกรมบัญชีกลางจะเร่งทยอยพิจารณารายการยาที่จำเป็นเข้าระบบ IBD ต่อไป
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงฉบับดังกล่าว ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการคลัง จึงกำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Vedoluzumab โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับค่ายาที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-127-7000 ต่อ 6850 และ 6851 ในวันและเวลาราชการ อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS