{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในปี 2564 กรมธนารักษ์ได้เพิ่มช่องทาง การรับชำระค่าเช่าและเงินอื่นๆ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ภายใต้ชื่อ “TRD Smart Pay” โดยมีช่องทางให้เลือกชำระ 2 ช่องทาง ประกอบด้วย การชำระเงินออนไลน์ผ่านบัญชีธนาคารต่างๆ (Page to Page) และการชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต (Payment Gateway) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการแต่อย่างใด
นอกจากนี้ กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างจัดทำใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) รองรับการให้บริการชำระเงินค่าเช่าผ่านแอปพลิเคชัน (Application) และบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ด้านที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ เพื่อลดปัญหาการจัดการข้อมูลหรือเอกสารที่อยู่ในรูปของกระดาษ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร สร้างความมั่นใจในการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ให้กับผู้เช่าที่ราชพัสดุ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบาย National e-Payment ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีผู้เช่าที่ราชพัสดุทั่วประเทศ ประมาณ 182,000 ราย แบ่งเป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุ ประมาณ 160,000 ราย และผู้เช่าอาคารราชพัสดุ ประมาณ 22,000 ราย มีผลการจัดเก็บรายได้เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ประมาณ 10,000 ล้านบาท เป็นรายได้จากการบริหารจัดการด้านที่ราชพัสดุ ประมาณ 9,000 ล้านบาท โดยการให้บริการรับชำระค่าเช่าผ่านแอปพลิเคชัน (Application) จะเป็นทางเลือกที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เช่าที่ราชพัสดุในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทางไปชำระค่าเช่า อีกทั้ง ยังเป็นทางเลือกใหม่ของผู้เช่าที่ราชพัสดุ ที่ต้องปรับพฤติกรรมเข้าสู่การใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยการสร้างระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อีกทางหนึ่ง
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS