TKKผนึกมทร.ตะวันออกตั้ง Academy ปั้นบุคลากรรุ่นใหม่รองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC

นางกัลยาณี คงสมจิตร ประธานกรรมการ บริษัททีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มทร.ตะวันออก พัฒนาหลักสูตรการเรียน ก่อตั้ง Academy บ่มเพาะบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) รองรับอุตสาหกรรม New S-Curve ในพี้นที่ EEC

ปัจจุบัน เทคโนโลยี AGV (Automated Guided Vehicle) หรือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ โดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ได้ต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะแบบ Automated Mobile Robots หรือ AMR ในภาคอุตสาหกรรม สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สแกนเนอร์ และระบบ GPS เพื่อกำหนดพิกัด ใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมสัญญาณ ซึ่งในอนาคต คาดว่านวัตกรรมนี้จะเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบและกระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในที่สุด ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทฯ จึงตั้งใจต่อยอดความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และบริษัทในเครือ (KSI Solution) มาสร้างประโยชน์ให้กับทั้งการพัฒนาภาคการศึกษาไทย และต่อการปรับใช้เทคโนโลยีมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นด้วย

ล่าสุดบริษัทได้รับงานออกแบบและวางระบบหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโครงการ EEC Medical Hub ศูนย์กลางทางการแพทย์ในพื้นที่ EEC โดยมีโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ซึ่งจะออกแบบและพัฒนาตามคอนเซปของการเป็น Digital Hospital หรือโรงพยาบาลจะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ AMR ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ขนส่งยา เวชภัณฑ์ จัดยา โดยใช้เทคโนโลยี 5G มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบริหารจัดการโรงพยาบาลแห่งนี้ทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่างานนี้กว่า 200 ล้านบาท คาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567

นายทัศพันธุ์ สุวรรณทัต หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) กล่าวว่า มทร.ตะวันออกตัดสินใจเปิด สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมเปิดอยู่แวดล้อมมหาวิทยาลัยมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้เทรนด์การจ้างงานในโรงงาน ในอดีตจะจ้างวิศวกรเครื่องกล 1 คน วิศวกรไฟฟ้า 1 คน วิศวกรระบบอุตสาหการอีก 1 คน แต่ในระยะหลัง โรงงานอุตสาหกรรมได้แสดงความต้องการมายังภาคการศึกษาซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากร ให้ช่วยผลิตวิศวกรที่มีความสามารถครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ภายในบุคคลเดียว จึงเป็นเหตุให้ มทร.ตะวันออก เปิดหลักสูตรวิศวเมคคาทรอนิกส์ฯ ซึ่งเป็นศาสตร์ของวิศวกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด

เมื่อศาสตร์ด้านเมคคาทรอนิกส์ มาประสานกับศาสตร์เทคโนโลยีแห่งยุคอย่าง หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงทำให้หลักสูตรดังกล่าวสามารถผลิตบุคลากรที่สถานประกอบการเกือบทุกประเภทมีความต้องการ ประกอบกับจุดเด่นของหลักสูตรนี้ ที่จัดการเรียนการสอนร่วมกับทางภาคอุตสาหกรรมมาตลอด จนสามารถกล่าวได้ว่ามีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ

โดยหลักสูตรที่ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และ มทร.ตะวันออก ได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก้าวสู่ตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในพื้นที่ EEC จะประกอบด้วยหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ หลักสูตร Programmable Logic Controller (PLC), หลักสูตร 3D Camera Vision System, หลักสูตร Robot control, หลักสูตร Autonomous Mobile Robots (AMR), หลักสูตร Automated Storage and Retrieval Systems (AS/RS), หลักสูตร Big data and Artificial Intelligence


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment