{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
จากการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่เมือง Jackson Hole เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา นาย Jerome Powell เปิดเผยถึงความเชื่อมั่นที่มากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ กำลังชะลอตัวเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% และถึงเวลาที่ FED ควรจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ตลาดคาดว่ามีแนวโน้มที่ FED จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมในเดือนกันยายนนี้ ส่งผลให้หุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับฐานหลังจากปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วงก่อนหน้าโดยเงินทุนมีโอกาสเคลื่อนย้ายไปยังหุ้นและพันธบัตรใน Emerging Market ที่มีพื้นฐานดี
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นอกจากปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการเติบโตของ SET Index แล้ว ในส่วนของปัจจัยภายในประเทศยังมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน อาทิ การเมืองไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่รายงานออกมาเข้มแข็งกว่าที่นักวิเคราะห์คาด รวมถึงผลการดำเนินงานของบริษัท จดทะเบียนไทยในไตรมาส 2/2567 ที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนไทยหันมาใช้การซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการซื้อหุ้นคืนยังช่วยส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุนทราบว่าผู้บริหารมีความมั่นใจว่าราคาหุ้นในปัจจุบันถูกประเมินต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทและกระตุ้นความต้องการซื้อหุ้นในตลาด อีกทั้งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีสภาพคล่องไหลเข้าตลาดหุ้นไทยเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยในกองทุน Thai ESG และความชัดเจนในการออกขายกองทุนวายุภักษ์ 1 ที่มีการรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจผู้ลงทุนและสามารถช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นโดยรวมในตลาดทุน
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
· ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 SET Index ปิดที่ 1,359.07 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% จากเดือนก่อนหน้าสอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค ทำให้เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 SET Index ปรับลดลงเหลือเพียง 4.0%
· เดือนสิงหาคม 2567 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
· เดือนสิงหาคม 2567 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai ปรับมาอยู่ที่ 46,028 ล้านบาท ลดลง 21.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แต่ปรับเพิ่มขั้น 21.1% จากเดือนที่แล้ว ทำให้ 8 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 44,404 ล้านบาท ลดลง 22.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
· ในเดือนสิงหาคม 2567 ไม่มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET และ mai
· Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 14.9 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.9 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 16.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 15.1 เท่า
· อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 3.50% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.16%
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
· ในเดือนสิงหาคม 2567 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 498,404 สัญญา เพิ่มขึ้น 31.2% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ SET50 Index Futures และ Single Stock Futures และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 444,557 สัญญา ลดลง 18.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และ SET50 Index Futures
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS