ทช. ยกระดับถนนสาย สร.4026 เชื่อม สุรินทร์ – บุรีรัมย์ เพิ่มศักยภาพกาการเดินทาง

“สุริยะ” เผย ทช. ยกระดับและขยายถนนสาย สร.4026 เชื่อม สุรินทร์ - บุรีรัมย์ เพิ่มศักยภาพการคมนาคมส่งเสริมเศรษฐกิจ – การท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เช่น ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ส่งผลให้มีการพัฒนาและการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ช่วยลดต้นทุนในการเดินทางให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย สร.4026 แยก ทล.2378 - เมืองสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ ซึ่งจะช่วยให้การคมนาคมขนส่งพืชผลทางการเกษตร และการท่องเที่ยวในชุมชน รวมถึงการเดินทางระหว่างจังหวัดสุรินทร์ ไปยังอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ หรือไปยังท่าอากาศยานบุรีรัมย์เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สามารถเดินทางอย่างไร้รอยต่อ ซึ่ง ทช. ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้สัญจรอย่างเต็มประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวเพิ่มเติมว่า ทช. ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 เริ่มต้นโครงการบนถนนทางหลวงชนบทสาย สร.4026 ช่วง กม.ที่ 8+000 บริเวณข้างโรงเรียนเพี้ยราม ตำบลเพี้ยราม วางแนวตามเส้นทางเดิมไปจนถึง กม.ที่ 22+697 และช่วงที่ 2 กม.ที่ 28+473 บริเวณวัดป่านิมิตมงคล ตำบลท่าสว่าง ไปสิ้นสุดโครงการ กม.ที่ 31+730 ถนนทุ่งโพธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 17.954 กิโลเมตร โดยได้ยกระดับชั้นทาง และขยายความกว้างผิวจราจรเป็นขนาด 7 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมเสริมผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตบริเวณแนวเส้นทางที่ตัดผ่านหมู่บ้าน นอกจากนี้ได้ขยายความกว้างของสะพาน จำนวน 5 แห่ง ก่อสร้างรางระบายน้ำ ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยตลอดสายทาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 149.445 ล้านบาท สำหรับถนนสาย สร.4026 นอกจากจะรองรับการเจริญเติบโตของเมืองที่เพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมความต้องการในการเดินทางของประชาชนแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของหมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง ที่เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment