บ๊ายบาย”ไขมันทรานส์” ห้ามผลิตห้ามนำเข้าห้ามขาย ปลดแอกภาวะเสี่ยงโรคร้ายมานานปี

ในที่สุด รัฐบาลไทยก็ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561

มีผลอีก 180 วันนับจากวันที่ได้ประกาศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (พบได้น้อยในธรรมชาติ อย่างในเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ซึ่งถูกนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปให้เป็นไขมันอิ่มตัวด้วยการเติมไฮโดรเจนเข้าไป (Hydrogenation) มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Partially Hydrogenated Oil หรือ Hydrogenated

คุณสมบัติที่ได้ ทำให้เก็บรักษาไขมันหรือน้ำมันที่ได้จากการแปรรูปได้นาน ทนความร้อนได้สูง ไม่เป็นไข มีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์

มักจะถูกนำไปใช้ในการผลิตน้ำมันพืช

เพราะทำให้อาหารที่ทอดมีความกรอบอร่อยมากขึ้น สามารถใช้ซ้ำได้หลายๆ ครั้งโดยไม่เหม็นหืน หรือช่วยเปลี่ยนสภาพของเหลวของน้ำมันให้แข็งขึ้น หรือมีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว อย่างการทำเนยเทียม

ที่สำคัญมีราคาที่ถูกมาก

จึงมักจะมีการนำไขมันทรานส์มาใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร

โดยเฉพาะอาหารประเภทฟาสด์ฟู้ดที่ใช้น้ำมันในการทอดซ้ำๆ รวมทั้งแฮมเบอเกอร์ หรือขนมขบเคี้ยวที่เก็บไว้นานๆ แต่ก็ยังกรอบเหมือนใหม่ อาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวและมาร์การีน อย่าง เค้ก คุกกี้ พาย หรือขนมขบเคี้ยวชนิดแท่ง

แต่การใช้ไขมันดังกล่าวกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

โครงสร้างไขมันที่ถูกดัดแปลง ทำให้การบริโภคไขมันทรานส์เข้าไปมาก จะทำให้กระทบการทำงานของเอนไซม์ในเบตาบอลิซึมคอเลสเตอรอล จะทำให้คอเลสเตอรอลเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดจำนวนคอเลสเตอรอลชนิดดีลง ทำให้น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น

แล้วไขมันทรานส์ยังยังย่อยสลายได้ยาก ทำให้ตับต้องทำงานหนักหรือผิดปกติ

ที่สำคัญ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

การออกประกาศนี้ จะเป็นการช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนไทยให้มีความเสี่ยงจากโรคร้าย

แล้วคุณจะเลือกกินเหมือนเดิม หรือเลือกกินแบบไม่เสี่ยงเป็นโรคร้าย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment