{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. ขยายตัว 0.53%YoY ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 2.67%YoY ต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.7% ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน จากราคาหมวดพลังงานที่กลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 27 เดือน ที่ -9.55%YoY ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง และค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลงจากการปรับลดค่า Ft ในรอบเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 และการมีมาตรการช่วยเหลือค่า ขณะที่หมวดอาหารสดขยายตัว 4.70%YoY ชะลอลงจากเดือน เม.ย. ที่ 5.50%YoY จากราคาเนื้อสุกรที่ปรับลดลง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยที่ 1.55%YoY เทียบกับ 1.66%YoY ในเดือนก่อน จากราคาเครื่องประกอบอาหารที่กลับมาหดตัวตามราคาน้ำมันพืช และการชะลอตัวของราคาค่าโดยสารสาธารณะ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าบางหมวดขยายตัวเร่งขึ้น เช่น เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 5 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 2.96% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.98%
Implication:
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องและอาจสนับสนุนให้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยในเดือน ส.ค. อัตราเงินเฟ้อชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 จากราคาพลังงานทั้งค่ากระแสไฟฟ้าและราคาน้ำมันขายปลีกที่ปรับลดลง และคาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอต่อเนื่องตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำจากอุปสงค์ที่อ่อนแรงลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบยังแกว่งตัวต่ำกว่าระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าซาอุดิอาระเบียมีมติลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2566 แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของปริมาณการผลิตน้ำมันของทั่วโลก จึงคาดว่าผลกระทบยังค่อนข้างจำกัดท่ามกลางอุปสงค์น้ำมันของโลกที่ยังฟื้นตัวช้า อีกทั้งผลของฐานราคาน้ำมันขายปลีกที่สูงในปีก่อน จึงประเมินว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและมีโอกาสติดลบในเดือน มิ.ย. Krungthai COMPASS คาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่องอาจเป็นปัจจัยหนุนให้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปช่วงเดือน ส.ค. นี้ หลังจากที่มีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นติดต่อกันสู่ระดับ 2.0% ต่อปี (ปรับเพิ่มขึ้นรวม 150 bps) และเพื่อรอดูความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลรวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ระดับราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานยังทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.06%MoM สะท้อนถึงแรงกดดันต่อราคาสินค้าในหมวดเงินเฟ้อพื้นฐานยังมีอยู่ตามการส่งผ่านราคาสินค้าของผู้ประกอบการ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ กนง. ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 2.25% ในช่วงปลายปีได้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS