{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายสัตวแพทย์ เพชร นันทวิสัย รองประธานสายงานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ Veterinary Stem Cell and Bioengineering Innovation Center (VSCBIC) คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้พัฒนา ‘คลีนมีท’ เนื้อหมูที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บที่ปลอดโรค ไร้กังวลเรื่องสารตกค้าง ไม่มีกระบวนการฆ่าสัตว์ ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม และห่วงใยสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งจัดว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์ครบวงจรที่มีการพัฒนาเนื้อสัตว์ทางเลือกจากห้องแล็บเป็นรายแรกในประเทศไทย และเป็นอันดับแรกๆ ของเอเชีย
คลีนมีท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Cell-based meat, Culture meat คือเนื้อสัตว์ที่เกิดจากการเก็บเซลล์เนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์ แล้วนำเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยงในห้องแล็บเพื่อเพิ่มจำนวน จนได้เนื้อสัตว์ที่เทียบเคียงได้กับเนื้อสัตว์ที่อยู่ในร่างกายสัตว์
สำหรับตลาดคลีนมีทมีนักลงทุนและบริษัทผู้ผลิตอาหารระดับโลกให้ความสนใจอย่างมาก ในปี 2559 - 2562 มีเงินลงทุนมากกว่า 166 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีบริษัท start-up มากกว่า 60 แห่งที่ค้นคว้าพัฒนาเกี่ยวกับคลีนมีท ปัจจุบันผลิตภัณฑ์คลีนมีทได้เริ่มออกสู่ตลาดแล้ว เช่น ในสิงคโปร์มีการขายคลีนมีทในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาหรือประเทศในสหภาพยุโรปเองก็เตรียมเปิดรับนวัตกรรมใหม่นี้เช่นกัน คลีนมีทมีแนวโน้มการเติบโตขึ้นทุกปี ประมาณปีละ 31% ภายในปี 2583 จะมีส่วนแบ่งการตลาดของเนื้อสัตว์ไปได้ 11% หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคลีนมีทจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากจะสามารถสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารแล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน และพร้อมรองรับตลาดในอนาคต
ดร.ภัทราพรรณ รุ่งเจริญ ผู้ช่วยประธานกลุ่มงานพัฒนาสินค้าใหม่ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่รักสุขภาพ เพราะมั่นใจได้ว่าเนื้อสัตว์ปลอดโรค ปลอดยาปฏิชีวนะและสารเร่งเนื้อแดง นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนให้คลีนมีทเป็น Functional Food โดยการเติมสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ ลงไปเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้มากกว่าเนื้อจริง รวมถึงปรับเปลี่ยนสัดส่วนไขมันเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการเนื้อสัตว์ไขมันต่ำได้
ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยพัฒนาเพื่อให้ได้เนื้อหมูที่มีรสสัมผัส คุณค่าทางอาหาร และต้นทุนที่ใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS