{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA (สนช.) เปิดเผยว่า สนช.โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center, ABC center) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP โดยภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ เป็นการสร้างโอกาสและช่องทางตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพออกสู่ตลาด บนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไทย (AgTech Startup) ในสาขาที่มีการพัฒนารูปแบบในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าการเกษตรไปสู่ผู้บริโภคให้สามารถขยายผลและกระจายได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบเจ้าของร่วมผลิต ระบบการประมูลสินค้าเกษตร หรือ E-biding ระบบตลาดออนไลน์ หรือ Marketplace และ ระบบการขายออนไลน์ส่งมอบให้ผู้บริโภคและธุรกิจเกษตร (B2B /B2C) เป็นการสร้างแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงนวัตกรรมการเกษตรสู่เกษตร 4.0 ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายผลรูปแบบการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรจากฟาร์มสู่ผู้บริโภคของสตาร์ทอัพไทย สู่การใช้งานของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น
กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการนี้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย รวมทั้งสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น ลิ้นจี่บางขุนเทียน ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ข้าวเจ๊กเชย เสาไห้ สระบุรี แต่อย่างไรก็ตามผลิตผลทางการเกษตรถูกรวบรวมจากไร่ของเกษตรกรและจัดจำหน่ายโดยกลุ่มพ่อค้าคนกลาง (Middle-man) โดยเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพ่อค้าคนกลางเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ จนนำมาสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ทำให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น การซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์จะเติบโตต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคจากปกติผู้บริโภคซื้อสินค้าตามตลาดท้องถิ่น หรือศูนย์การค้า เปลี่ยนมาเป็นการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสของการพัฒนาระบบตลาดในรูปแบบใหม่ที่จะเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยกลุ่มสตาร์ทอัพด้านตลาดเกษตรจะเป็นผู้มาตอบโจทย์และเพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลายยิ่งขึ้น
“โอกาสครั้งสำคัญของกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จะได้พัฒนาตลาดสินค้าในช่องทางใหม่ๆ ผ่านการทำงานคู่กับพันธมิตรธุรกิจที่เป็น สตาร์ทอัพด้านการเกษตร ที่มีแพลตฟอร์มนำสินค้าเกษตรไปสู่ตลาดรูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากนั้น ผู้ที่ได้ผ่านการคัดเลือกยังได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากกูรู วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ มากมายหลายท่าน ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านระบบตลาดรูปแบบใหม่ แนวทางด้านนวัตกรรมการเกษตร การประยุกต์ให้เกิดการสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และการบริหารจัดการขนส่ง มากไปกว่านั้น จะได้บ่มเพาะและลงมือปฏิบัติจริงในการพัฒนาและทดสอบตลาดนำสินค้าเกษตรขึ้นบนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ เพื่อเติมเต็มและเติบโตธุรกิจเกษตรไปด้วยกัน” ดร.กริชผกา กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้เปิดรับสมัคร กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นตั้งแต่วันนี้ ถึง 20 กันยายน 2563 โดยสามารถสมัครร่วมโครงการผ่านทางออนไลน์ได้ และดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://agtech4otop.nia.or.th/ หรือ Facebook : AgTech4OTOP หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 098-257 0888 (ทินวัฒน์) อีเมล Thinnawat.s@nia.or.th
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS