{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบมาโดยตลอด ตั้งแต่ไตรมาสแรกที่เกิดวิกฤตโควิด-19 โดยความช่วยเหลือจะมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. มาตรการช่วยเหลือภายใต้โปรแกรมซัพพลายเชน และ 2. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โดยตรง เพื่อช่วยให้ทุกห่วงโซ่ซัพพลายเชนสามารถฟื้นตัวไปพร้อม ๆ กัน
1. มาตรการช่วยเหลือภายใต้โปรแกรมซัพพลายเชน
ทีเอ็มบีและธนชาต ในฐานะผู้นำแนวคิด Make REAL Change เชื่อว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปได้อย่างยั่งยืน บริษัททุกขนาดต้องเติบโตไปพร้อม ๆ กัน จึงให้ความสำคัญกับซัพพลายเชน โซลูชัน มากว่า 10 ปี เริ่มต้นจากการให้แหล่งเงินทุนแก่เครือข่ายคู่ค้า ซึ่งก็คือ ธุรกิจขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก ทุกวันนี้มีพันธมิตรรายใหญ่ที่อยู่ภายใต้โปรแกรมซัพพลายเชน 100 ราย ซึ่งมีคู่ค้าธุรกิจ SME อีก จำนวน 1,200 ราย ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงนำหลักการซัพพลายเชนมาช่วยเหลือ SME โดยชวนพันธมิตรองค์กรรายใหญ่ให้มาช่วยเหลือคู่ค้ารายเล็ก และเป็นเรื่องน่ายินดีที่พันธมิตรองค์กรรายใหญ่ได้ตอบรับสนับสนุนแนวคิดของธนาคาร
ธนาคารได้ดำเนินการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค พลังงาน วัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมด้านการเกษตร ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือคู่ค้า SME ของกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ฯ กลุ่ม ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก ผ่าน 2 มาตรการ มาตรการแรก เป็นการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของคู่ค้า หรือ ดีลเลอร์ SME กว่า 400-500 ราย มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมและสามารถประคองธุรกิจได้ในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนมาตรการที่สองคือ การให้เงินทุนหมุนเวียน (Soft Loan) เพิ่มเติมกับดีลเลอร์กว่า 60 ราย วงเงิน 150 ล้านบาท เพื่อให้คู่ค้า SME มีเงินทุนหมุนเวียนในการจ้างพนักงาน จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าเช่า และอื่น ๆ รวมถึงเอสซีจี ที่ทางธนาคารได้ร่วมมือและพร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ดีลเลอร์ด้วยดีมาโดยตลอด เป็นต้น
นอกจากนี้ ธนาคารได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผล ในการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรภายใต้โครงการซัพพลายเชน โซลูชันที่ดำเนินการร่วมกัน โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินส่งเสริมการปลูกอ้อย หรือที่เรียกว่า เกี๊ยวเงินอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเงินของเกษตรกรในกลุ่มมิตรผล เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาทำการเพาะปลูกต่อไป โดยปัจจุบันมีเกษตรกรภายใต้โครงการฯ ทั่วประเทศกว่าหลายพันราย
2. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โดยตรง
สำหรับโปรแกรมที่ธนาคารเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โดยตรง มีหลากหลาย ได้แก่ 1. โปรแกรมการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน 2. การให้เงินทุนหมุนเวียน (Soft Loan) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและรักษาการจ้างงานแก่ลูกค้าของธนาคาร เช่น คอฟฟี่ บีนส์ บาย ดาว ( Coffee Beans By Dao) ร้านอาหารและเบเกอรี่ชื่อดัง, ที.พี.ดรัก ( T.P. Drug ) ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์, สุบากิ ฟู้ด เซอร์วิส (Tsubaki Food Service) ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านซอสปรุงรสสไตล์ญี่ปุ่น และ ส.ทวีภัณฑ์ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาอยู่ในจังหวัดเลย เป็นต้น 3. มอบโปรโมชันพิเศษ ฟรีประกันโควิด-19 ให้แก่พนักงาน เมื่อผู้ประกอบการ SME สมัครบริการ Smart Payroll จ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการดูแลพนักงานในสถานการณ์เช่นนี้ และ 4. การจัด SME Knowledge Program ช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME ของธนาคารแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการตั้งรับเชิงรุก ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจภายใต้ทิศทางเศรษฐกิจใหม่
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS