{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ ได้ริเริ่มจัดทำโครงการ FinDWe Can Do ขึ้น โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ในการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาในสังกัดได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อเรียนรู้แนวทางในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่9 ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการการเงิน ควบคู่ไปกับการสร้างทักษะการรู้ใช้รู้ออมเงิน เพื่อห่างไกลจากความเป็นหนี้
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่กรุณาเข้ามาช่วยต่อยอดขยายผลโครงการ FinD We Can Do ด้วยการพัฒนาโครงการดังกล่าว ไปสู่รายการโทรทัศน์"FinD มีตังค์" และต้องขอบคุณกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ที่กรุณาจัดเวลาแพร่ภาพออกอากาศรายการทางทรูโฟร์ยู ช่อง 24 เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในคุณูปการของการออมเงินให้กว้างไกลครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศ
นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ชี้แจงว่าสถาบันฯเล็งเห็นคุณค่าของโครงการFinD We Can Do ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มขึ้น และต้องการขยายโอกาสการเข้าถึงสาระสำคัญของโครงการในการช่วยสร้างเสริมอุปนิสัยรักการออม และรู้เท่ากันการเงิน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้ประสานขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการ ไปสู่รายการสาระประโยชน์ด้านบริหารจัดการทางการเงินแบบง่ายๆที่ใครๆก็ทำได้ ภายใต้ชื่อ"FinD มีตังค์"
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่ากลุ่มทรูมีความยินดีมากที่ได้รับเกีบรติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในการแพร่ภาพออกอากาศรายการฟินดีมีตังค์ ทางทรูโฟร์ยู ช่องที่ 24 ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 1 ก.พ.นี่เป็นต้นไปต่อเนื่องกันไป 12 สัปดาห์
รายการ FinDมีตังค์ จัดเป็นรายการประเภทเรียลริตี้ ความยาวตอนละ 30 นาที จำนวน 12 ตอน โดยแก่นของเนื้อหารายการมุ่งสะท้อนกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นจริงของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา โดยตัวนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา ในหลากหลายรูปแบบ ตามสภาพภูมิสังคมของแต่ละภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ-ใต้-อีสาน-และตะวันออก
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS