อีอีซี จับมือ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปั้นกิจการสมุนไพรไทยในอีอีซี สู่ตลาดโลก

อีอีซี ร่วมลงนาม MOU กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยกระดับกิจการสมุนไพรไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วางเป้าเสริมองค์ความรู้ เทคโนโลยีการผลิตมาตรฐานโลก เสริมนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนด์สมุนไพรไทย ก่อนผลักดันสู่ตลาดโลก

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย “การส่งเสริมธุรกิจด้านสมุนไพรไทยเพื่อการส่งออก” โดยมีนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกัน

ลงนามฯ ณ เวทีกลาง งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ศูนย์การแสดงสินค้า อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการด้านสมุนไพรไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสร้างโอกาสให้ธุรกิจพืชสมุนไพรไทยมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีส่วนในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย อีอีซี จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ว่าด้วย “การส่งเสริมธุรกิจสมุนไพรไทยเพื่อการส่งออก” กับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เกิดการสนับสนุนกิจการสมุนไพรไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสามารถก้าวไปเป็นแบรนด์สมุนไพรชั้นนำได้ในตลาดโลก

โดยภายใต้ MOU นี้ อีอีซี จะร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการด้านสมุนไพรไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างรายได้การเพิ่มมูลค่าผลิตสมุนไพรทั้งการจัดจำหน่ายในประเทศและการส่งออกนอกประเทศ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย โดยครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำให้มีประสิทธิภาพสูง

นอกจากนี้ จะให้การส่งเสริมสมุนไพรไทยในด้านเทคโนโลยีการผลิต มาตรฐานการผลิตที่ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์สากล รวมถึงการขับเคลื่อนด้านการตลาดของสมุนไพรไทย ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างมีอัตลักษณ์ด้วยการสร้างแบรนด์สินค้า โดยจะมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายใต้ regulatory sandbox ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงการสร้างระบบนิเวศการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านสมุนไพร

“อีอีซี จะเข้าไปมีบทบาทหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจและ

ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยด้วยนวัตกรรม ให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมีประสิทธิภาพสูง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสมุนไพรเพื่อการส่งออก” นายจุฬา กล่าว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment