{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การที่รัฐออกกฎหมายให้ผู้ขับขี่และซ้อนมอเตอร์ไซด์ต้องสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง เป้าหมายหลักก็เพื่อช่วยป้องกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ช่วยลดการบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต
ค่าปรับที่กำหนด ก็เพียงเพื่อบีบบังคับให้ผู้ขับขี่หรือผู้ซ้อนไม่กระทำความผิด
กฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 122 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะต้องโทษตามมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 500 บาท โดยห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่รถในขณะที่คนโดยสารรถไม่สวมหมวกนิรภัย หากฝ่าฝืนผู้ขับขี่จักรยานยนต์จะถูกปรับเป็น 2 เท่าของโทษที่กำหนด คือการไม่สวมหมวกเฉพาะตัวเอง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และอีกข้อหาคือไม่จัดให้คนซ้อนสวมหมวกกันน็อก
แต่ก็ยังมีผู้ขับขี่และผู้ซ้อนจำนวนมากยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย แม้บางรายอาจถูกจับและเปรียบเทียบปรับ ก็ยังมีผู้ละเลย
ขนาดเจ้าหน้าที่ตำรวจกวดขัน คุมเข้ม ก็ยังมีให้เห็นอย่างดาดดื่น
จนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุ ที่ทำให้ต้องได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากการใส่หมวกกันน็อค โดยเฉพาะหมวกกันน็อคที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้แบบปิดเต็มหน้า หรือที่เรียกกันภาษานักบิดคือเต็มใบ กลายเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาโจร
หากอ่านหรือดูข่าวอาชญากรรมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โจร ผู้ร้ายมักจะใส่หมวกกันน็อคแบบปิดเต็มหน้าแบบเต็มใบขณะไปกระทำผิดกฎหมาย เช่น การชิงทอง การปล้นร้านทอง การปล้นแบงก์ การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น ฯลฯ
ถึงจะมีกล้องวงจรปิดจับภาพได้ แต่ก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะมองไม่เห็นใบหน้าคนร้าย ต้องคาดเดาจากรูปพรรณสัณฐาน และเบาะแสอื่น
บางคดีต้องใช้เวลานาน บางคดียังไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาได้
แม้หลายสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างธนาคาร ร้านทอง หรือแม้ห้างสรรพสินค้า บังคับให้มีการถอดหมวกกันน็อคกันเข้าในสถานที่ ก็ยังเกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นได้
ต้องยอมรับว่าการใช้หมวกกันน็อคแบบปิดเต็มหน้าหรือแบบเต็มใบนี้ ได้รับการสนับสนุนให้มีการสวมใส่เวลาขับขี่มอเตอร์ไซด์ เพราะสามารถป้องกันหรือผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขนาดเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังนำหมวกกันน็อคมาใช้ในการปกปิดหน้าคนร้ายเมื่อถูกนำมาแถลงข่าว หรือนำไปทำแผนตามจุดเกิดเหตุเพื่อป้องกันเหตุร้าย
แต่ก็อาจมีกลุ่มโจร ผู้ร้าย อาศัยช่องโหว่ นำหมวกกันน็อคไปใช้ในการก่ออาชญากรรม แม้จะมีส่วนน้อย แต่ก็สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก
แล้วจะหาทางออกกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างแท้จริง
หมวกนิรภัย หรือหมวกกันน๊อค ตามกฎกระทรวง มี 3 แบบ คือ
1. "หมวกนิรภัยแบบเต็มใบปิดหน้า" หรือที่เข้าใจกันภาษานักบิดคือ “หมวกเต็มใบ” (Full Face) หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทําจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
ประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตมากที่สุด
กลุ่มที่ชอบใช้คือ ผู้ขับขี่บิ๊กไบค์ ผู้ที่ใช้ความเร็วสูง ผู้ที่ชอบขับขี่ทางไกลเป็นประจำ รวมถึง โจร ผู้ร้าย
2."หมวกนิรภัยแบบเต็มใบเปิดหน้า" หรือตามภาษานักบิดคือ “หมวกเปิดหน้า” (Open Face) หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทําจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
ประสิทธิภาพการป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตมาก
กลุ่มที่ใช้มักจะเป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้าง พนักงานส่งเอกสาร
3."หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ" หรือ Half Face หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูป
ครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหูในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทําจากวัสดุ
โปร่งใสและไม่มีสี
ประสิทธิภาพในการป้องกันน้อย
กลุ่มที่ชอบใช้ ประชาชนทั่วไป
ที่สำคัญ ทั้ง 3 แบบต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสําหรับหมวกนิรภัย
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS