“ดอยคำ” ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการ “ดอยคำร่วมรักษ์ช้าง ผลักดันไม้ฝาง เพื่อเกษตรกรไทย”

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการ “ดอยคำร่วมรักษ์ช้าง ผลักดันไม้ฝาง เพื่อเกษตรกรไทย” ระหว่าง บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) เพื่อนำแก่นฝางมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ภายใต้แนวคิด สนับสนุนการแก้ปัญหาช้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม โดยมี นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายทวีศักดิ์ เลาหวิโรจน์ รองผู้จัดการใหญ่ (ด้านนวัตกรรมและการผลิต) บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด นายรักษา สุนินทบูรณ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษากรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) นางสาวจารุวรรณ ทองใบ รักษาการหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร นายอดิศร สุทธิเลิศ พัฒนาการจังหวัดจันทบุรี นายฐกร ค้าขายกิจธวัช รักษาการหัวหน้าศูนย์การศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมพิธีฯ ณ นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกทรายขาว องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

สำหรับโครงการ “ดอยคำร่วมรักษ์ช้าง ผลักดันไม้ฝาง เพื่อเกษตรกรไทย” เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ฝางในระบบวนเกษตรเป็นวัตถุดิบในภาคตะวันออก เพื่อส่งแก่นฝางให้กับบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดยไม่เบียดเบียนป่าธรรมชาติ แต่จะเป็นวิธีในการสร้างป่าที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชน โดยแก่นฝางในพื้นที่ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ดอยคำจะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์เป็นน้ำสมุนไพร



โดยแก่นฝาง ดอยคำได้พัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์โดยใช้แก่นฝางเป็นวัตถุดิบ เพราะมีสารสำคัญ จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี พบว่ามีสารสำคัญ จำนวน 4 ชนิด ซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสรวมถึงเชื้อ SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ได้ และยังเป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาช้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมอีกด้วย” นายทวีศักดิ์ กล่าว

“ฝาง” เป็นต้นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตในทุกสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศในประเทศไทย สามารถปลูกร่วมกับไม้ชนิดอื่นๆ ได้โดยไม่มีปัญหาในระบบนิเวศ เป็นต้นไม้ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะประชาชนผู้ประสบปัญหาช้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากช้างป่าไม่กินและไม่ทำลาย สามารแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค (ข้อมูลจาก หนังสือประชาสัมพันธ์การจัดการความรู้ เรื่องไม้ฝาง พันธุ์ไม้ที่ช้างไม่ชอบและไม่ทำลาย : กรมป่าไม้และสถานีวนวัฒนวิจัยเขาสอยดาว)


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment